วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ฝึกพูดอังกฤษกับ 30 ประโยคพื้นฐานง่ายๆ

ฝึกพูดอังกฤษกับ 30 ประโยคพื้นฐานง่ายๆ




ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=t5qUYYP6M3k

วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ความรู้ทางการพยาบาล




การพยาบาลผู้สูงอายุสมองเสื่อม



วัคซีนป้องกันบาดทะยักสำหรับหญิงตั้งครรภ์





ทักษะการพยาบาล การสวนปัสสาวะ





หลักการและเทคนิคการพยาบาลการสวนปัสสาวะ

                                                                                               อ.มาลินี บุญเกิด
วิทยาลัยพยาบาลบราราชชนนี พระพุทธบาท

          การขับถ่ายปัสสาวะเป็นกลไกธรรมชาติที่ร่างกายให้การดูผู้ป่วยปัจจุบันเน้นการสร้างเสริมสุขภาพ    มุ่งส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี  ได้รับการดูแลที่มีคุณภาพมาตรฐาน ในด้านการส่งเสริมสุขภาพการขับถ่ายปัสสาวะ พยาบาลจะต้องมีความรู้และทักษะการประเมินการขับถ่าย ปัจจัยที่มีผลต่อการขับถ่าย หากพบว่าผู้รับบริการมีปัญหาเกี่ยวกับการขับถ่าย จะต้องให้คำแนะนำส่งเสริมสุขภาพ แต่ถ้าเกิดภาวะสุขภาพเกี่ยวกับการขับปัสสาวะออกน้อยหรือการขับถ่ายปัสสาวะ จะต้องให้การช่วยเหลือโดยการสวนปัสสาวะ   เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพที่รุนแรงเพิ่มมากขึ้น
                                  
          กลไกการขับถ่ายปัสสาวะ
                   การถ่ายปัสสาวะ หมายถึง การทำให้กระเพาะปัสสาวะว่าง โดยปฏิกิริยา การทำงานร่วมกันของระบบประสาทอัตโนมัติที่ทำงานนอกอำนาจบังคับจิตใจ (involuntary nervous system) กับระบบประสาทที่ทำงานอยู่ภายในอำนาจบังคับ ของจิตใจ (Voluntary nervous) และกลไกการทำงาน ของกล้ามเนื้อ  เมื่อไตทำหน้าที่กรองของเสีย และสร้างปัสสาวะออกมาเรื่อย ๆ ส่งมาตามท่อไตปัสสาวะจากท่อไตจะไหลลงสู่กรวยไต ลงไปที่กระเพาะปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะจะเก็บรวบรวมน้ำปัสสาวะจนได้ปริมาณมากพอที่ทำให้เกิดแรงดันไปกระตุ้น ปลายประสาทรับความรู้สึกซึ่งอยู่ที่ผนังกระเพาะปัสสาวะให้ส่งกระแสประสาทไปตามเส้นประสาท ไขสันหลังระดับเชิงกรานคู่ที่ 2-4 เข้าสู่ไขสันหลังไปยังสมองเกิดความรู้สึกปวดอยากถ่ายปัสสาวะ แต่สามารถกลั้นปัสสาวะได้โดยสมองจะส่งกระแสประสาทกลับไปตามไขสันหลัง กระตุ้นให้ระบบประสาทอัตโนมัติซิมพาเทติก (Sympathetic) ทำงาน ทำให้กล้ามเนื้อเรียบของ กระเพาะปัสสาวะคลายตัวเพื่อยืดขยายรับจำนวนปัสสาวะเพิ่มขึ้นได้อีกในขณะเดียวกันกล้าม เนื้อหูรูดชั้นในตรงบริเวณคอคอดของกระเพาะปัสสาวะซึ่งอยู่ต่อกับท่อปัสสาวะ  จะหดตัวกลั้นไม่ให้ปัสสาวะไหลออกมา  แต่ถ้าจำนวนปัสสาวะมีมากเต็มที่จะเกิดแรงดันภายใน กระเพาะปัสสาวะไปกระตุ้นปลายประสาทรับความรู้สึกซึ่งอยู่ที่ผนังกระเพาะปัสสาวะให้ส่งกระแส ประสาทไปตามเส้นประสาทไขสันหลัง ระดับเชิงกรานคู่ที่ 2-4 เข้าสู่ไขสันหลังไปยังสมองเกิดความรู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะมากขึ้นกว่าครั้งแรก และรู้สึกว่าจะกลั้นต่อไปไม่ได้อีกแล้ว สมองจะส่งกระแสประสาทกลับไปที่ใยประสาทไขสันหลัง ผ่านทางระบบประสาทอัตโนมัติพาราซิมพาเทติก (Parasympathetic) ทำให้กล้ามเนื้อเรียบของกระเพาะปัสสาวะบีบตัว กล้ามเนื้อหูรูดชั้นในและชั้นนอกคลายตัว พร้อมกับมีการหดตัวของกล้ามเนื้อผนังหน้าท้อง ทำให้น้ำปัสสาวะถูกขับถ่ายออกมา ในผู้ใหญ่ความรู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะจะเกิดขี้นเมื่อมีจำนวน ปัสสาวะอยู่ในกระเพาะปัสสาวะประมาณ 150-300 มิลลิลิตร                  

 สาเหตุความผิดปกติของการขับปัสสาวะ
1. การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เช่น มีการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะหรือท่อปัสสาวะ  ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปัสสาวะลำบาก (Dysuria)
          2.  การทำงานของไตไม่มีประสิทธิภาพ  เช่นโรคไตวาย หรือภาวะช็อค เลือดมาเลี้ยงไตไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้สร้างปัสสาวะได้น้อยหรืออาจจะไม่มีการสร้างปัสสาวะเลย 
          3. มีการตีบแคบหรือการอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ เช่น ผู้สูงอายุชายที่มีต่อมลูกหมากโต (Benign Prostatic Hypertrophy) นิ่ว การบวมอักเสบของทางเดินปัสสาวะ
          4. พฤติกรรมสุขภาพ เช่น การดื่มน้ำน้อยเกินไป  การดื่มน้ำมากเกินไป การดื่มเหล้า ชา กาแฟ  การได้รับยาที่เกี่ยวข้อง เช่น ยาขับปัสสาวะ (diuretics) ยารักษาภาวะหัวใจล้มเหลว (Congestive heart failure) ดมยาสลบ/ฉีดยาเข้าเส้นประสาทไขสันหลัง
          5. พยาธิสภาพของโรค เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด  โรคไต โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus)  โรคเบาจืด (Diabetes insipidus)
         6. กล้ามเนื้อสูญเสียหน้าที่ เช่น ผู้สูงอายุกล้ามเนื้อที่ช่วยในการกลั้นปัสสาวะสูญเสีย หรือ ความผิดปกติของระบบประสาทและไขสันหลัง

                   การขับถ่ายปัสสาวะเป็นกลไกธรรมชาติที่มนุษย์สามารถปฏิบัติเป็นกิจวัตรประจำวันได้เอง แต่หากเกิดความผิดปกติของร่างกายที่ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถขับถ่ายปัสสาวะได้เอง  เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อ ความไม่สุขสบายของผู้ป่วยหรือต้องการสังเกตอาการผู้ป่วย  จึงต้องมีการใส่สายสวนปัสสาวะ

  ชนิดของการสวนปัสสาวะ
       การใส่สายสวนปัสสาวะมี 2 วิธี คือ
        1.  การสวนปัสสาวะเป็นครั้งคราว (intermittent  catheterization) เป็นการทำให้กระเพาะปัสสาวะว่างโดยใส่สายสวนปัสสาวะผ่านท่อทางเดินปัสสาวะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ เพื่อระบายน้ำปัสสาวะออกจากกระเพาะปัสสาวะและถอดสายสวนปัสสาวะออกเมื่อไม่มีน้ำปัสสาวะไหลออกมา
         2. การใส่สายสวนปัสสาวะชนิดคาสายไว้(Retained foley’s catheter) เป็นการสอดใส่สายสวนปัสสาวะ ชนิด Foley’s catheter ผ่านทางท่อปัสสาวะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะแล้วใส่น้ำกลั่นทำบอลลูนเพื่อตรึงสายสวนปัสสาวะให้คาไว้

ข้อบ่งชี้/เกณฑ์ของการใส่สายสวนปัสสาวะ
          การใส่สายสวนปัสสาวะชนิดครั้งคราว
1. กระเพาะปัสสาวะมีจำนวนน้ำปัสสาวะเต็ม (Bladder full) ทำให้ผู้ป่วยมีการโป่งตึงของกระเพาะปัสสาวะหรือบริเวณหัวหน่าวหลังการผ่าตัด การได้รับอุบัติเหตุ ภายใน 6-8 ชั่วโมงแล้วไม่มีการขับถ่าย
ปัสสาวะ
2.   มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น หญิงหลังคลอดอาจทำให้ตกเลือดหลังคลอด
3.   ผู้ป่วยมีระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง กล้ามเนื้อแขน ขาอ่อนแรงและมีความจำเป็นต้องเก็บปัสสาวะเพื่อส่งตรวจ
4.  ต้องการประเมินดูปัสสาวะเหลือค้าง (Residual urine) ในกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการติดเชื้อ
          การใส่สายสวนปัสสาวะชนิดคาสายสวนปัสสาวะไว้
1.  ผู้ป่วยมีภาวะวิกฤติ ซึ่งอาจจะส่งผลให้เกิดความผิดปกติของการทำงานของไต ต้องมีประเมินจำนวนปัสสาวะทุก 2-4 ชั่วโมง เช่น ภาวะช็อค
2.  ผู้ป่วยควบคุมการขับถ่ายไม่ได้/ช่วยเหลือตนเองไม่ได้และมีแผลบริเวณอวัยวะใกล้เคียง เช่น แผลกดทับ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อหากปัสสาวะไปถูกแผล หรือเกิดการระคายเคือง
3. มีความเสี่ยงต่อการอุดตันของท่อทางเดินปัสสาวะ ทำให้ต้องมีการสวนล้างกระเพาะปัสสาวะอย่างต่อเนื่องเช่น การได้รับการผ่าตัดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ผ่าตัดต่อมลูกหมากโตซึ่งอาจมีลิ่มเลือดอุดตัน หรือการมีตะกอนในปัสสาวะจำนวนมาก
4. เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการตรวจวินิจฉัย/รักษา เช่นการตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ การผ่าตัดที่ใช้ระยะเวลายาวนาน


หลักการใส่สายสวนปัสสาวะ
          การสวนปัสสาวะเป็นบทบาทไม่อิสระของพยาบาล โดยสามารถปฏิบัติได้โดยอยู่ภายใต้แผนการรักษาของแพทย์ซึ่งการใส่สายสวนปัสสาวะมีภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้  การใส่สายสวนปัสสาวะมีหลักการในการปฏิบัติดังนี้
    1.การประเมินสภาพผู้ป่วยก่อนสวนปัสสาวะ
การประเมินสภาพผู้ป่วยเพื่อการสวนปัสสาวะมีดังนี้
1.1.  สภาพด้านจิตใจของผู้ป่วย เช่น ความวิตกกังวล การสูญเสียภาพลักษณ์ความกลัวในการใส่
สายสวนปัสสาวะ
1.2.  ประสบการณ์การใส่สายสวนปัสสาวะ ความรู้ ความเข้าใจในการได้รับการใส่สายและการ
ดูแลตนเองเมื่อต้องใส่สายสวนปัสสาวะ
1.3.   ความสามารถของผู้ป่วยในการตั้งขาจัดท่าสำหรับการสวนปัสสาวะ ซึ่งหากผู้ป่วยมีระดับ
ความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลงหรือมีกำลังของกล้ามเนื้อต้นขาอ่อนแรง (เพศหญิง) อาจจะต้องใช้ผู้ช่วยในการพยุงขาผู้ป่วยให้อยู่ในท่าที่เหมาะสมสำหรับการสวนปัสสาวะ
1.4.  ช่วงวัย หรือ อายุของผู้ป่วย  เพื่อเป็นเกณฑ์ในการเลือกขนาดของสายสวนปัสสาวะ เช่น วัย
เด็กก็ใช้ขนาดเล็กให้เหมาะสมกับรูเปิดของท่อปัสสาวะ
1.5.  พยาธิสภาพหรือโรคของผู้ป่วยที่เป็นอยู่ เช่น ท่อทางเดินปัสสาวะตีบแคบ ต่อมลูกหมากโต
อาจส่งผลให้การใส่สายสวนปัสสาวะยากขึ้น ซึ่งต้องใช้อุปกรณ์อื่นช่วยใส่ หรือเลือกสายที่มีขนาดเล็กลง
     2. การเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์
          อุปกรณ์ในการใส่สายสวนปัสสาวะ มีดังนี้
1.       สายสวนปัสสาวะปราศจากเชื้อ แบ่งออกเป็นมี 2 ประเภท
1.1   สายสวนปัสสาวะชนิดครั้งคราว  มีลักษณะตรงทำด้วยยางแดง ปลายสายที่ใช้สำหรับใส่เข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ มีลักษณะปลายมนและมีช่องเปิดสำหรับระบายน้ำปัสสาวะ
1.2   สายสวนปัสสาวะชนิดคาสายไว้ ภายในสายมี 2 ช่องสำหรับระบายน้ำปัสสาวะและช่อง
สำหรับใส่น้ำกลั่นเพื่อทำบอลลูน
                   สายสวนปัสสาวะมีชนิด 2 หางและ 3 หาง โดยหางที่ 1 สำหรับระบายน้ำปัสสาวะ หางที่ 2 สำหรับใส่น้ำกลั่นเพื่อทำบอลลูนให้สามารถคาอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ ส่วนหางที่ 3 เป็นทางสำหรับใส่สารละลายเพื่อล้างกระเพาะปัสสาวะ
การเลือกขนาดของสายเพื่อทำการสวนปัสสาวะ ขึ้นอยู่กับช่วงวัยและพยาธิสภาพของผู้ป่วย ดังนี้
     วัยเด็ก   ใช้ขนาด 6-8     Fr
     ผู้หญิง   ใช้ขนาด 14-16 Fr
     ผู้ชาย   ใช้ขนาด 16-20  Fr
     ผู้สูงอายุ ใช้ขนาด 18-22  Fr
หมายเหตุ   1 Fr  เท่ากับ 1/3 ม.ม.
2.       ชุดทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์   จำนวน  1  ชุด
3.       ชุดสวนปัสสาวะปราศจากเชื้อ  โดยประกอบด้วย
     ชามกลม                    จำนวน            2        ใบ
     Forceps                   จำนวน           1        อัน
     สำลีก้อนใหญ่              จำนวน           6-8     ก้อน
     ก๊อส                        จำนวน           1        แผ่น
     ผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลาง      จำนวน           1        ผืน
4.       น้ำยาทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์โดยปัจจุบันนิยมใช้ ได้แก่ Savlon 1:100 , Sterile waterและ NSS
5.       สารหล่อลื่นเพื่อลดการระคายเคืองในสอดใส่สายสวนปัสสาวะได้แก่ K-Y jelly
6.       ถุงมือปราศปราศจากเชื้อ  จำนวน  1  คู่ (สำหรับสวนปัสสาวะ )
7.       ถุงมือสะอาด จำนวน 1 คู่ (กรณีไม่สะอาดสำหรับทำความสะอาดก่อนสวน)
8.       ชามรูปไต พร้อมถุงขยะสำหรับใส่สำลีที่ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์แล้ว
9.       ไฟฉายหรือโคมไฟกรณีที่แสงสว่างไม่เพียงพอ
10.   ผ้าสำหรับปิดตาผู้ป่วย
กรณีที่ใส่สายสวนปัสสาวะชนิดคาสายไว้ให้เตรียมอุปกรณ์เพิ่มดังนี้
1.       กระบอกฉีดยาบรรจุน้ำกลั่น ปริมาณตามที่ระบุไว้ เช่น ในผู้ใหญ่  10-20 ซีซี ในเด็ก 3 ซีซี
2.       พลาสเตอร์สำหรับตรึงสายสวนปัสสาวะ
3.       ถุงเก็บน้ำปัสสาวะ (Urine bag)  
   3. หลักการเตรียมความพร้อมผู้ป่วย                                
        ทางด้านจิตใจ
          - อธิบายให้ผู้ป่วยรับทราบและเข้าใจถึงความจำเป็นของการใส่สายสวนปัสสาวะ วิธีการใส่ ระยะเวลาและการดูแลตนเองของผู้ป่วย ขณะใส่สายสวนปัสสาวะ
          - เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยซักถามหรือระบายความรู้สึก  เพื่อลดความวิตกกังวลและความกลัวของผู้ป่วย
        ทางด้านร่างกาย
- กั้นม่านให้มิดชิด เพื่อหลีกเลี่ยงการเปิดเผยผู้ป่วย และจัดท่าผู้ป่วยให้อยู่ในท่าที่สามารถใส่สายสวน
ปัสสาวะได้สะดวกโดย
          ผู้ชาย
          จัดท่านอนหงาย (Dorsal position) โดยการปิดตาผู้ป่วย ถอดกางเกงและใช้ผ้าจำนวน 2 ผืน คลุมร่างกาย (drape)  ผืนที่ 1 คลุมส่วนบนของร่างกายจนถึงหัวเหน่า ผืนที่ 2 คลุมต่ำแค่องคชาตลงมาและเปิดเผยบริเวณอวัยะสืบพันธ์ภายนอก
          ผู้หญิง
          จัดให้อยู่ในท่านอนหงายชนเข่า (Dorsal recumbent position) ปิดตา ห่มผ้า ถอดผ้านุ่ง จัดผ้าคลุม (drape) เปิดเฉพาะบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก การชันเข่า ควรบอกผู้ป่วยให้วางส้นเท้าชิดกัน เท้าทั้งสองข้างห่างกันประมาณ 2 ฟุตการคลุมผ้าช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกการเป็นส่วนตัว 

     4.  หลักการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์
-    ไม่เปิดเผยผู้ป่วย ควรปิดตา กั้นม่าน คลุมผ้าให้ผู้ป่วย
-    ล้างมือก่อน-หลังการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ป้องกันการปนเปื้อนเชื้อ
          -    ไม่เทน้ำยาชุ่มเกินไป เวลาเช็ดจะได้ไม่ต้องบีบน้ำยาออก เพราะจะทำให้สำลีแข็ง ควรใช้ความนุ่มของสำลีเช็ดอวัยวะสืบพันธุ์
-    ไม่เช็ดซ้ำย้อนไป-มา เช็ดจากบนลงล่างเพราะอาจทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อ
-    ปฏิบัติด้วยความนุ่มนวล
-    ใช้มือข้างที่ไม่ถนัดจับอวัยวะเพศ และใช้มือข้างที่ถนัดใช้ปากคีบสำลีทำความสะอาดอวัยวะ     สืบพันธ์  ส่วนอวัยวะเพศชายให้จับตั้ง 90 องศา เพื่อที่จะทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ให้สะอาด
-    เน้นการทำความสะอาดให้สะอาด โดยไม่เกิดการปนเปื้อนเชื้อ
       5. Patient Safety Goals สำหรับการใส่สายสวนปัสสาวะ
สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (2551) ได้เสนอแนวทางการป้องกัน CAUTI ไว้ 4 ประการ ได้แก่ การประเมินความจำเป็นที่จะต้องใส่สายสวนปัสสาวะ, การเลือกประเภทของสายสวนปัสสาวะ, การใส่สายสวนปัสสาวะ, การดูแลระหว่างคาสายสวนปัสสาวะ, การให้ความรู้แก่ผู้ป่วย ญาติ และเจ้าหน้าที่
          1. การประเมินความจำเป็นที่จะต้องใส่สายสวนปัสสาวะ
          ใส่คาสายสวนปัสสาวะต่อเมื่อจำเป็นเท่านั้นหลังจากที่พิจารณาทางเลือกอื่นๆ (เช่น condom, intermittent catheterization) แล้ว, ประเมินความจำเป็นที่จะต้องใส่สายสวนปัสสาวะต่อไปเป็นระยะๆ และถอดสายสวนปัสสาวะออกเร็วที่สุด (ผู้ป่วยในหอผู้ป่วยหนักจะมีโอกาสใส่สายสวนโดยไม่จำเป็นมากกว่าในหอผู้ป่วยทั่วไป)
          2. การเลือกประเภทของสายสวนปัสสาวะ
          การเลือกประเภทของสายสวนปัสสาวะขึ้นกับการประเมินผู้ป่วยและระยะเวลาที่คาดว่าจะใส่สายสวน, เลือกใช้สายสวนปัสสาวะที่มีขนาดเล็กที่สุดที่จะให้ปัสสาวะไหลได้สะดวก
          3. การใส่สายสวนปัสสาวะ
          ผู้ใส่สายสวนปัสสาวะต้องได้รับการฝึกอบรมและมีทักษะเพียงพอ, ล้างมือให้สะอาดก่อนใส่สายสวน, ใช้ aseptic technique ที่ถูกต้อง, ทำความสะอาด urethral meatus ด้วย sterile normal saline, ใช้สารหล่อลื่นที่เหมาะสมจากภาชนะที่ออกแบบสำหรับใช้ครั้งเดียว
          4. การดูแลระหว่างคาสายสวนปัสสาวะ
-         ต่อสายสวนปัสสาวะกับ sterile closed urinary drainage system, ตรึงสายสวนให้เหมาะสม
-         รักษาระบบระบายปัสสาวะให้เป็นระบบปิด
-         ล้างมือและใส่ถุงมือสะอาดก่อนที่จะสัมผัสสายสวนปัสสาวะ และล้างมือหลังจากถอดถุงมือ
-         เก็บตัวอย่างปัสสาวะจากช่องที่ออกแบบไว้ (sampling port) โดยใช้   aseptic technique
-         จัดวางตำแหน่งของถุงเก็บปัสสาวะให้ต่ำกว่าระดับกระเพาะปัสสาวะ โดยไม่สัมผัสกับพื้น
-                   ระบายปัสสาวะออกจากถุงเก็บปัสสาวะบ่อยพอที่จะให้ปัสสาวะไหลได้สะดวกและไม่ไหลย้อนกลับ โดยใช้ภาชนะสะอาดที่แยกเฉพาะสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายและหลีกเลี่ยงอย่าให้ urinary drainage tap สัมผัสกับภาชนะที่ใช้รับปัสสาวะ
-                   ไม่เติม antiseptic หรือ antimicrobial solutions ในถุงเก็บปัสสาวะ
-                   ไม่เปลี่ยนสายสวนปัสสาวะโดยไม่จำเป็น หรือไม่เปลี่ยนเป็น routine
-                   ดูแล meatal hygiene ประจำวัน
-                   ไม่ควรทำ bladder irrigation
6. วิธีปฏิบัติการใส่สายสวนปัสสาวะ
        การสวนปัสสาวะชนิดคาสายปัสสาวะไว้
          การสวนปัสสาวะชนิดคาไว้มีวิธีการปฏิบัติดังนี้ 
1.       ตรวจสอบชื่อ-สกุลและชนิดของการสวนปัสสาวะจากคำสั่งการรักษา เพื่อจัดเตรียม
อุปกรณ์ให้ถูกต้องและเหมาะสม
2.       พยาบาลแนะนำตนเอง สอบถามชื่อ-สกุลผู้ป่วย อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงความจำเป็นในการ
สวนปัสสาวะ การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยขณะสวนปัสสาวะ เพื่อช่วยลดความกลัว ความวิตกกังวลและได้รับความร่วมมือจากผู้ป่วย
3.       ประเมินสภาพผู้ป่วยก่อนการสวนปัสสาวะเพื่อประเมินความสามารถของผู้ป่วยในการจัด
ท่านอนสำหรับสวนปัสสาวะ
4.       ล้างมือให้สะอาด เพื่อลดโอกาสเกิดการแพร่กระจายเชื้อ และ จัดเตรียมเครื่องใช้มาวางที่
เตียงผู้ป่วยเพื่อความพร้อมในการสวนปัสสาวะ
5.   ปิดประตูหรือกั้นม่านให้มิดชิด เพื่อหลีกเลี่ยงการเปิดเผยผู้ป่วย และใช้ผ้าปิดตาผู้ป่วย
6.   จัดให้มีแสงสว่างเพียงพอ โดยใช้โคมไฟหรือไฟฉายส่องไปที่อวัยวะสืบพันธุ์ เพื่อให้
สามารถมองเห็นรูเปิดของท่อปัสสาวะ
     7.    ผู้ทำยืนข้างเตียงผู้ป่วยข้างที่ถนัด เช่น ผู้ที่ถนัดมือขวาควรเข้าข้างขวาของผู้ป่วย ผู้ที่ถนัดมือซ้ายควรเข้าข้างซ้ายของผู้ป่วย จัดท่าที่ใช้ในการสวนปัสสาวะให้เหมาะสมเพื่อให้สามารถมองเห็นรูเปิดของท่อปัสสาวะได้ชัดเจน  
          ผู้ชาย
          จัดท่านอนหงาย (Dorsal position) โดยการปิดตาผู้ป่วย ถอดกางเกงและใช้ผ้าจำนวน 2 ผืน คลุมร่างกาย (drape)  ผืนที่ 1 คลุมส่วนบนของร่างกายจนถึงหัวเหน่า ผืนที่ 2 คลุมต่ำแค่องคชาตลงมาและเปิดเผยบริเวณอวัยะสืบพันธ์ภายนอก
         
          ผู้หญิง
          จัดให้อยู่ในท่านอนหงายชนเข่า (Dorsal recumbent position) ปิดตา ห่มผ้า ถอดผ้านุ่ง จัดผ้าคลุม (drape) เปิดเฉพาะบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก การชันเข่า ควรบอกผู้ป่วยให้วางส้นเท้าชิดกัน เท้าทั้งสองข้างห่างกันประมาณ 2 ฟุตการคลุมผ้าช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกการเป็นส่วนตัว 
8.       ใส่ถุงมือสำหรับทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์
9.       นำชุดชำระอวัยวะสืบพันธุ์วางไว้ระหว่างขาของผู้ป่วยใกล้กับอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกเปิด
ผ้าห่อออกทั้ง 4 มุม ใช้มือข้างที่ถนัดหยิบ Forceps คีบสำลีทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ภายนอกภายนอกให้สะอาด

วิธีการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ของเพศหญิงและเพศชาย มีดังนี้
เพศหญิง
          ก้อนที่   1   ทำความสะอาดบริเวณหัวหน่าว
ก้อนที่   2   ทำความสะอาดบริเวณแคมนอกด้านไกลตัว
ก้อนที่   3   ทำความสะอาดบริเวณแคมนอกด้านใกล้ตัว
ก้อนที่   4   ใช้มือข้างที่ไม่ถนัดแหวกและทำความสะอาดบริเวณแคมในด้านไกลตัว
ก้อนที่   5   ทำความสะอาดบริเวณแคมในด้านใกล้ตัว
ก้อนที่   6   ทำความสะอาดบริเวณรูเปิดท่อทางเดินปัสสาวะและเช็ดลงที่ทวารหนัก           
 เพศชาย
ก้อนที่    1     ทำความสะอาดบริเวณรูเปิดอวัยวะสืบพันธ์
ก้อนที่    2    ทำความสะอาดโดยเช็ดบริเวณองคชาตวนจากบนลงล่าง
ก้อนที่    3    ทำความสะอาดบริเวณหัวเน่า
ก้อนที่    4    ทำความสะอาดบริเวณอัณฑะด้านไกลตัว
ก้อนที่    5    ทำความสะอาดบริเวณอัณฑะด้านใกล้ตัว
ก้อนที่    6    ทำความสะอาดบริเวณอัณฑะด้านล่างและเช็ดลงที่ทวารหนัก
               
                              
หลังจากนั้นให้ถอดถุงมือออก และเก็บชุดทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ออกจากระหว่างขาผู้ป่วย  (ทำในกรณีที่ประเมินสภาพแล้วมีแนวโน้มในการติดเชื้อ  หากไม่ทำความสะอาดก่อนปูผ้า /กรณีที่รู้สึกตัว เคลื่อนไหวร่างกายสะดวก ให้ลุกไปทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ที่ห้องน้ำได้/หากประเมินสภาพแล้วผู้ป่วยได้รับการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์อย่างสม่ำเสมอและสะอาด ให้ข้ามขั้นตอนนี้และทำในข้อ 10 ได้
10.   ล้างมือให้สะอาด นำชุดสวนปัสสาวะวางไว้ระหว่างขาของผู้ป่วยใกล้กับอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
เปิดผ้าห่อ ออกทั้ง 4 มุม ด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ เพื่อให้มีพื้นที่สะอาดไม่เกิดการปนเปื้อน ฉีกซองสายสวนปัสสาวะ วางไว้ในชุดสวนปัสสาวะกระทำกิจกรรมดังกล่าวด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ (หากไม่ฉีกใส่ Set สามารถฉีกห่อแล้วนำไปห้อยไว้ที่เตียงและปลายสายให้อยู่ใกล้อวัยวะสืบพันธ์เพื่อเตรียมความพร้อมในการต่อสาย)
               11. ใส่ถุงมือปราศจากเชื้อ 1 ข้าง เพื่อหยิบอุปกรณ์ในชุดสวนปัสสาวะ วางบนผ้าห่ออุปกรณ์โดยยึดหลักปราศจากเชื้อ  ได้แก่ ผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลาง ก๊อส และใช้มือที่ยังไม่ได้ใส่ถุงมือหยิบขวดน้ำยาระงับเชื้อเทลงบนสำลี ในชามกลมพอให้สำลีเปียกชุ่ม บีบสารหล่อลื่นลงบนก็อซ  
     12.  ใส่ถุงมือปราศจากเชื้ออีก 1 ข้างด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ หยิบผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลาง คลี่ผ้า
สี่เหลี่ยมเจาะกลางคลุมบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้ช่องเจาะกลางอยู่บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก ด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ
13. หยิบสายสวนปัสสาวะ เลือกขนาดให้เหมาะสมกับผู้ป่วย ทาปลายสายสวนปัสสาวะด้วยสาร
หล่อลื่นในผู้หญิงยาว  1-2  นิ้ว ในผู้ชายยาว 6-7   นิ้ว (ระวังอุดรูที่ปลายสายสวนปัสสาวะ)วางไว้ในชามกลมสำหรับสวนปัสสาวะ  สารหล่อลื่นช่วยลดโอกาสเกิดการบาดเจ็บบริเวณท่อปัสสาวะ
      14. หยิบชามรูปไต (สำหรับใส่สำลีที่ใช้แล้ว) วางไว้ใกล้ผู้ป่วย เพื่อไม่ให้เกิดการข้ามกรายของสะอาดขณะทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
      15. ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกโดย
  ผู้หญิง ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกจนถึงแคมใน ใช้นิ้วมือข้างที่ไม่ถนัดแหวกแคมในให้กว้างและยกขึ้นจะเห็นรูเปิดของท่อปัสสาวะชัดเจน แล้วใช้มือข้างที่ถนัดจับ Forceps คีบสำลีเช็ดตรง             รูเปิดของท่อปัสสาวะ และแหวกค้างไว้จนกระทั่งสอดสายสวนปัสสาวะ และมีน้ำปัสสาวะไหลออกมา อย่าลืมว่ามือที่ใช้แหวกแคมนี้ไม่ปลอดเชื้ออีกต่อไป เพื่อระวังมือสัมผัสก่อให้เกิดการปนเปื้อนเครื่องใช้ที่ปลอดเชื้อ
   ผู้ชาย  ใช้มือข้างที่ไม่ถนัดจับองคชาตตั้งขึ้นทำมุม 90 องศา กับร่างกายแล้วใช้มือข้างที่ถนัดจับ Forceps คีบสำลีเช็ดบริเวณรูเปิดของท่อปัสสาวะ เช็ดวนออกมาด้านนอกแล้วเช็ดจากปลายองคชาตลงมา
                16. ใช้ Forceps เลื่อนชามที่ใส่สายปัสสาวะวางไว้บริเวณใกล้ระหว่างขาผู้ป่วยระมัดระวังการปนเปื้อนเชื้อ  ใช้มือข้างที่ถนัดจับสายสวนปัสสาวะ  ปลายอีกข้างหนึ่งวางไว้ในชามกลม
      17.  บอกให้ผู้ป่วยหายใจเข้า-ออกยาว ๆ  สอดสายสวนปัสสาวะเข้าไปในรูเปิดของท่อปัสสาวะในผู้หญิงสอดลึกอย่างน้อย  2 - 3 นิ้ว ผู้ชายสอดลึก 6 - 8  นิ้ว และดูการไหลของปัสสาวะ จนมีปัสสาวะไหลลงมาสู่ชามกลม แสดงว่าปลายสายอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ   ถ้าพบว่าขณะใส่สายสวนมีแรงต้าน โดยไม่ใช่แรงดันสายสวนปัสสาวะ ควรบอกให้ผู้ป่วยหายใจยาว ๆ แล้วค่อย ๆ หมุนสายสวนปัสสาวะอย่างมือเบาขณะสอดใส่สายเข้าไป  ถ้าไม่มีปัสสาวะไหลออกมาภายใน 1 - 2 นาที ให้ตรวจสอบดูว่าปลายสายเข้าไปในช่องคลอดหรือไม่ ถ้าใช่ ให้ถอดสายสวนปัสสาวะออก และทำการสวนปัสสาวะใหม่ด้วยใช้สายสวนปัสสาวะเส้นใหม่
             
      18. ภายหลังที่ปัสสาวะไหลดี  สอดสาย Foley’s catheter เข้าไปอีก 1  นิ้ว เพื่อให้แน่ใจว่า
ปลายสายเข้าอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ  และใช้มือข้างที่ไม่ถนัดจับสายไว้ให้แน่น เลื่อนปลายสายไปใกล้อวัยวะสืบพันธ์เพื่อเตรียมใส่น้ำกลั่น (ถ้าต้องการเก็บปัสสาวะส่งตรวจให้ผู้ช่วยนำกระป๋องเก็บปัสสาวะมารองรับน้ำปัสสาวะ)
               19. ใส่น้ำกลั่นเข้าทางหางที่เป็นแถบสี โดยใส่ช้า ๆ สังเกตผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยบ่นรำคาญหรือเจ็บปวดหลังใส่น้ำกลั่นให้รีบเอาน้ำออกเพราะอาจจะอยู่ในท่อทางเดินปัสสาวะ

                               

               20. ค่อย ๆ ดึงสายออกมาเบา ๆ เพื่อลดการดึงรั้งของสายบริเวณคอปัสสาวะ พร้อมทั้งต่อสายสวนปัสสาวะกับถุงเก็บปัสสาวะด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ โดยสอดสายถุงเก็บปัสสาวะใต้ผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลางแล้วต่อกับสายสวนปัสสาวะ พร้อมทั้งเก็บอุปกรณ์สวนปัสสาวะออกจากระหว่างขาผู้ป่วย
               21. ตรึงสายสวนปัสสาวะด้วยพลาสเตอร์ไว้ที่หน้าขา (ผู้หญิง) ส่วนผู้ชายตรึงสายสวนปัสสาวะไว้ที่หน้าท้องน้อยและโคนขาในผู้ชาย
              
               22. แขวนถุงปัสสาวะให้อยู่ต่ำกว่าระดับกระเพาะปัสสาวะ ควรสังเกตดูการไหลของปัสสาวะบ่อยๆพร้อมกับตรวจดูที่สายสวนปัสสาวะ  และสายท่อต่อไม่ให้หักพับงอ  หรือผู้ป่วยนอนทับ
               23. ถอดถุงมือ จัดเสื้อผ้า นำผ้าปิดตาออก จัดท่าให้อยู่ในท่าที่สุขสบาย
               24. แนะนำการปฏิบัติตนในการดูแลตนเองเมื่อผู้ป่วยได้รับใส่สายสวนปัสสาวะ
               25. เก็บอุปกรณ์ แยกขยะทั่วไป ติดเชื้อทิ้งให้เรียบร้อย
               26. ล้างมือให้สะอาด
               27. บันทึกทางการพยาบาลเกี่ยวกับการสวนปัสสาวะให้ครอบคลุมรายละเอียดเกี่ยวกับวันเวลาที่สวน ลักษณะสี  จำนวนและสิ่งผิดปกติ

การสวนปัสสาวะเป็นแบบครั้งคราว (intermittent  catheterization) 
มีวิธีการปฏิบัติดังนี้
ปฏิบัติตามขั้นตอนวิธีการปฏิบัติการใส่สายสวนปัสสาวะชนิดคาสายปัสสาวะไว้ ข้อ 1- 17
18. ใช้มือที่แหวกแคมเล็ก (กรณีผู้หญิง) /ใช้มือจับองคชาต(กรณีผู้ชาย) เลื่อนมาจับสายสวนปัสสาวะไว้อยู่กับที่ในกรณีต้องการเก็บปัสสาวะส่งตรวจ โดยให้ใช้กระป๋องเก็บปัสสาวะรองรับจากปลายสายสวนปัสสาวะ  เมื่อปัสสาวะหยุดไหลแล้วใช้มือกดเบา ๆ บนผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลางบริเวณเหนือหัวหน่าวจนแน่ใจว่าไม่มีปัสสาวะ เพื่อให้ปัสสาวะไหลออกให้หมดจากกระเพาะปัสสาวะ
19.  ค่อย ๆ ดึงสายสวนปัสสาวะออกวางไว้ในชามกลม  ในผู้ชายให้จับองคชาตตั้งขึ้นทำมุม 90  องศากับร่างกายก่อนดึงสายสวนออก ในผู้หญิงสามารถดึงออกได้  หากดึงออกมาแล้วมีปัสสาวะไหลออกมาให้จับสายสวนปัสสาวะค้างไว้ที่เดิมก่อนและรอจนกระทั่งไม่มีปัสสาวะจึงค่อยดึงสายออก
20. ใช้สำลีซับบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้แห้ง นำเครื่องใช้ออกจากเตียงผู้ป่วย ถอดถุงมือ จัดเสื้อผ้าและให้ผู้ป่วยนอนในท่าที่สบาย ซักถามอาการผู้ป่วย เปิดประตูหรือม่าน 
          21. สังเกตลักษณะของปัสสาวะที่ผิดปกติและตวงปัสสาวะที่ได้จากการสวนปัสสาวะ เก็บอุปกรณ์ แยกขยะทั่วไป ติดเชื้อทิ้งให้เรียบร้อย
          22. ล้างมือให้สะอาด

7. การดูแลผู้ป่วยขณะที่ใส่สายสวนปัสสาวะชนิดคาสายไว้
          การใส่สายสวนปัสสาวะชนิดคาสายไว้อาจทำให้เกิดการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ การดูแลผู้ป่วยควรปฏิบัติดังนี้
          1. ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ภายนอกและสายสวนปัสสาวะบริเวณรอบรูเปิดของหลอดปัสสาวะอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น หรือหลังการขับถ่ายอุจจาระทุกครั้ง การทำความสะอาดให้ใช้หลักปราศจากเชื้อ (Aseptic technique) และขั้นตอนการทำความสะอาดคล้ายกับวิธีการทำความสะอาดเพื่อใส่สายสวนปัสสาวะ แต่เน้นการเช็ดที่บริเวณรูเปิดท่อปัสสาวะและสายสวนปัสสาวะเพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อ
          2. แนะนำผู้ป่วยให้ดื่มน้ำให้เพียงพอ ประมาณ 1,500 -2,000 มิลลิลิตร หากไม่มีข้อจำกัด และการเคลื่อนย้ายหรือการลุกเดินต้องให้ถุงรองรับน้ำปัสสาวะอยู่ต่ำกว่าระดับกระเพาะปัสสาวะ หากสูงกว่านี้จะทำให้น้ำปัสสาวะไหลย้อนกลับ ซึ่งจะทำให้เกิดการติดเชื้อ
          3. ดูแลระบบทางเดินปัสสาวะให้อยู่ในระบบปิด ห้ามถอดสายสวนปัสสาวะออกจากบริเวณที่เชื่อมกับถุงรองรับน้ำปัสสาวะ
          4. ดูแลป้องกันการอุดตันของน้ำปัสสาวะ โดยดูแลไม่ให้สายหักพับงอ ผู้ป่วยบางรายอาจจะมีปัสสาวะเป็นตะกอน หนอง ควรมีการบีบรีดสายสวนปัสสาวะเป็นระยะ ๆ ในผู้ป่วยที่มีปัสสาวะเป็นเลือด เช่นผู้ป่วยหลังการผ่าตัดต่อมลูกหมากโต อาจจะต้องมีการล้างกระเพาะปัสสาวะอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการ อุดตันของระบบทางเดินปัสสาวะ
          5. หากน้ำปัสสาวะเต็มถุงรองรับน้ำปัสสาวะ และต้องการที่จะเทออกพยาบาลต้องมีการล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังการเทน้ำปัสสาวะออก ควรใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์บริเวณสายที่เทน้ำปัสสาวะออก  เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อ
          6. ระมัดระวังการเลื่อนเข้า ออกของสายสวนปัสสาวะ หรือการดึงรั้งของสายสวนปัสสาวะ โดยการใช้พลาสเตอร์ตรึงสายสวนปัสสาวะไว้ตลอดเวลาและไม่ควรห้อยถุงรองรับน้ำปัสสาวะไว้ที่ไม้กั้นเตียง  เพราะหากมีการดึงไม้กั้นเตียงขึ้น ลง อาจทำให้มีการดึงรั้งจนเกิดการเลื่อนหลุดของสายสวนปัสสาวะได้

8. วิธีการนำสายสวนปัสสาวะชนิดคาสายสวนปัสสาวะออก
          การใส่สายสวนปัสสาวะไว้นานจะทำให้เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนคือการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ เมื่อปัญหาหรือพยาธิสภาพของผู้ป่วยหมดสิ้นแล้ว ถ้าหากต้องการนำสายสวนปัสสาวะชนิดคาสายไว้ออก  มีการปฏิบัติดังนี้
          1. ประเมินสภาพความสามารถในการขับถ่ายปัสสาวะโดยการ Clamp สายสวนปัสสาวะประมาณ    4 ชั่วโมง และดูกระเพาะปัสสาวะมี full bladder หรือผู้ป่วยมีการการปวดปัสสาวะหรือไม่ จึงคลาย Clamp ออก ทำประมาณ 2-3 ครั้งแล้ว จึงถอดสายสวนปัสสาวะออก
          2. แจ้งผู้ป่วยให้ทราบถึงเหตุผลที่ต้องนำสายสวนปัสสาวะออก
          3. ล้างมือให้สะอาดและจัดเตรียมอุปกรณ์ดังนี้
                   - ชุดทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์
                   - น้ำยาทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์
                   - ถุงมือ
                   - Syring  จำนวน 10 ซีซี สำหรับดูดน้ำกลั่นออก
                   - ชามรูปไต/ถุงขยะ
          4. กั้นม่านให้มิดชิดและนำ Syring ต่อเข้าบริเวณปลายสายสวนปัสสาวะที่สำหรับใส่น้ำกลั่น  แล้วดูดน้ำกลั่นออกให้หมด  ซึ่งหากดูดออกหมดแล้วลูกบอลลูนที่อยู่ในกระเพาะปัสสาวะจะแฟบลง แล้วค่อยๆ ดึงสายสวนปัสสาวะออกช้า ๆ แล้วนำสายสวนปัสสาวะมาใส่ไว้ในชามรูปไตหรือขยะ
          5. ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ให้สะอาดหลังถอดสายสวนปัสสาวะ
          6. หากผู้ป่วยต้องมีการบันทึกสารน้ำเข้าออกร่างกาย ให้บันทึกจำนวนน้ำปัสสาวะที่อยู่ในถุงปัสสาวะก่อนนำไปทิ้ง

          7. แนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำ หากไม่มีข้อจำกัดและกระตุ้นให้ขับถ่ายปัสสาวะเองภายใน 6-8 ชั่วโมงหากภายใน 6 ชั่วโมงผู้ป่วยยังไม่มีการขับถ่ายปัสสาวะ ให้นำกระเป๋าน้ำแข็งวางที่กระเพาะปัสสาวะ  และหากไม่มีการขับถ่ายปัสสาวะ อาจจะต้องพิจารณาสวนปัสสาวะใหม่อีกครั้ง